Friday , 17 May 2024 / 09 : 41 : 07
Home   |   Sitemap   |   Contact us

gallery
        สร้างอาสาสมัคร Cyber Scout ที่มีจิตสำนึกด้านจริยธรรม คุณธรรม และขยายเครือข่ายอาสาสมัคร Cyber Scout เพื่อสนับสนุนความรักความสามัคคีภายในชาติ เฝ้าระวังและสอดส่องพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของสังคมไทย
         Creating Cyber Scout Volunteer who realizes the morality and extending Cyber Scout Volunteer for supporting the unity in Thailand and watching out all dangerous behavior.
.
100Schools 100Schools download
 
 
 
การบันทึกไฟล์ภาพใน Photoshop Cs5
+0.1

  การเปิดไฟล์ภาพขึ้นมาตกแต่งหรือแก้ไขด้วย Photoshop นั้น เมื่อสร้างหรือตกแต่งภาพเสร็จแล้ว เราจะต้องบันทึกไฟล์ด้วย เพื่อเก็บการเปลี่ยนแปลงที่ทำกับภาพ โดยเลือกบันทึกไฟล์ได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้งาน สำหรับไฟล์ประเภทแรกที่ควรบันทึกคือ รูปแบบ PSD ของ Photoshop เอง เพื่อเก็บเป็นต้นฉบับไว้สำหรับนำมาแก้ไขในภายหลัง จากนั้นจึงสั่งบันทึกไฟล์เป็นประเภทอื่น เช่น GIF หรือ JPG เพื่อให้เหมาะสำหรับการนำไปใช้งานในแต่ละกรณี

 

บันทึกไฟล์ Photoshop (.PSD)

          การแก้ไขไฟล์ภาพโดยการสร้างกราฟิก เพิ่มการตัดต่อ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะของไฟล์ภาพที่มีผลกับโครงสร้างเดิมของภาพ เมื่อเลือกคำสั่ง File > Save จะแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ Save As ขึ้นมา โดยจะเลือกรูปแบบของไฟล์เป็น Photoshop (*.PSD, *.PDD) เป็นค่าพื้นฐานดังนี้

          ** คุณสมบัติของไฟล์ PSD จะเก็บรายละเอียดการทำงานต่าง ๆ เช่น เลเยอร์, ฟอนต์ และเส้นพาธ ไว้ได้อย่างครบถ้วนช่วยให้การนำไฟล์ภาพกลับมาแก้ไขทำได้ง่าย ในขณะที่ไฟล์ประเภทอื่นจะเก็บข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ หรือได้เพียงบางส่วน

 

Save-1

Save-2

 

บันทึกไฟล์ทับของเดิม

          การเปิดไฟล์ภาพมาตกแต่งสี, แสงเงา หรือกำหนดค่าเอฟเฟ็กต์ให้กับภาพ แต่ไม่ได้ใช้คำสั่งเกี่ยวกับการสร้างเลเยอร์ (เลเยอร์ คือ ชั้นที่จัดวางรูปภาพ) หรือสร้างกราฟิกอื่น ๆ เพิ่มเติมในภาพ เมื่อเลือกคำสั่ง File > Save โปรแกรมจะให้บันทึกทับชื่อไฟล์เดิม รูปแบบเดิม (จะไม่มีไดอะล็อกบ๊อกซ์ Save As เปิดขึ้นมา หากไม่ต้องการให้ทับไฟล์เดิม ต้องคลิกเลือกคำสั่ง File > Save As เอง) 

 

บันทึกเป็นไฟล์รูปแบบอื่น ๆ

          นอกจากการบันทึกเป็นไฟล์ .psd และบันทึกลงในรูปแบบของไฟล์ต้นฉบันเดิมแล้ว ยังบันทึกไฟล์ภาพเก็บไว้ในรูปแบบอื่น ๆ ได้ตามต้องการ โดยคลิกเลือกคำสั่ง File > Save As แล้วเลือกรูปแบบของไฟล์ในช่อง Format ซึ่งจะมีรูปแบบไฟล์ให้เลือกหลายแบบดังภาพ

 

Save-3

Save-4

 

บันทึกไปใช้กับเว็บเพจ หรืออุปกรณ์อื่น

          รูปภาพที่นำไปใช้กับเว็บเพจ จะต่างจากรูปภาพที่นำไปใช้กับงานด้านอื่น ๆ คือ ชนิดของภาพที่จะนำไปใช้บนเว็บเพจนั้น ต้องเป็น GIF, JPG หรือ PNG เท่านั้น และควรให้ไฟล์มีขนาดเล็ก ขนาดภาพต้องพอดี ไม่ใหญ่จนเกินไป เมื่อผู้ชมเปิดเข้าไปในเว็บไซต์จะได้โหลดภาพได้เร็วยิ่งขึ้น โปรแกรมจึงมีคำสั่งสำหรับบันทึกรูปภาพไปใช้ในเว็บเพจโดยเฉพาะ คือ Save for Web & Devices โดยคำสั่งนี้จะให้กำหนดค่าออปชั่นการบันทึกภาพประเภทต่าง ๆ พร้อมกับดูภาพตัวอย่าง ขนาดของไฟล์ และระยะเวลาในการดาวน์โหลดเปรียบเทียบกันได้อีกด้วย ดังนี้

          1. เลือกคำสั่ง File > Save for Web & Devices

 

Save-5

 

          2. กำหนดออปชั่นต่าง ๆ ในการแปลงไฟล์ แล้วดูภาพ ขนาด และเวลาในการดาวน์โหลดเปรียบเทียบกันในไดอะล็อกบ็อกซ์ Save for Web & Devices ดังภาพหน้า

          3. เลือกภาพจากกรอบตัวอย่างที่ต้องการใช้งาน

          4. คลิกปุ่ม Save เพื่อบันทึกภาพ

 

Save-6

 

          5. บนไดอะล็อกบ๊อกซ์ Save Optimized As เลือกตำแหน่งโฟลเดอร์ที่จะจัดเก็บในช่อง Save in

          6. กำหนดชื่อไฟล์ภาพในช่อง File name

          7. คลิกปุ่ม Save

 

Save-7

ลิงค์อ้างอิง:
วันที่: 19 ก.ค. 2554 | 17:47:50 | โดย Drive IN คราม | IP 111.84.224.xxx
Share
 
 
อ่าน 2,331  |  แจ้งลบ    << ย้อนกลับ
 
ร่วมแสดงความคิดเห็น
คุณต้องเป็นสมาชิกก่อนถึงจะสามารถแสดงความคิดเห็นในบทความนี้ได้
 
 
ข่าวกิจกรรม : CyberScout
 
เข้าสู่ระบบ
 
E-mail
Password
 
แนะนำหลักสูตรใหม่
หลักสูตรวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์ ฉบับก้าวหน้า
หลักสูตรวิทยากรแกนนำฉบับก้าวหน้า จัดทำขึ้นเพื่อฝึกอบรมวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์ ให้มีความรู้ทักษะและความเชี่ยวชาญ และสามารถนำไปถ่ายทอด..
12 มิ.ย. 2555 | 15:10 น.
หลักสูตรวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์
หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อสร้างบุคลากรแกนนำที่มีความพร้อมทั้งความรู้และคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกที่ดีต่อสถาบันหลักของประเทศชาติ และนำอ..
19 เม.ย. 2554 | 10:37 น.